วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

การตัดต่อวีดีโอด้วย Ulead Video Studio

การตัดต่อวีดีโอ ด้วยโปรแกรม Ulead VideoStudio (ดึงไฟล์วิดีโอผ่านการ์ด firewire)
การจับภาพ
เสียบสายเคเบิ้ลเข้ากับคอมพิวเตอร์และกล้องวีดีโอดิจิตอลให้เรียบร้อย (ดึงไฟล์วิดีโอผ่านการ์ด firewire) แล้วเปิดกล้องในโหมด VCR เปิดโปรแกรม Ulead โปรแกรมจะเปิดหน้าต่างในขั้นตอน Edit ให้
คลิกที่ปุ่ม Capture เพื่อทำการจับภาพจากกล้องวีดีโอ หลังจากที่คลิกปุ่ม Capture แล้ว ให้คลิกที่ Capture Video
โปรแกรมจะแสดงหน้าต่างจับภาพ ด้านซ้ายของหน้าต่างเรียกว่า Options Panel ส่วนแสดงภาพเรียกว่าหน้าต่างพรีวิว ด้านขวาเรียกว่าไลบรารี่ ส่วนด้านล่างเแสดงข้อมูลต่างๆ ของวีดีโอ

ส่วน Options Panel
Duration ตั้งระยะเวลาของการจับภาพ
Source อุปกรณ์จับภาพวีดีโอและรายชื่ออุปกรณ์จับภาพอื่นๆ ที่ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์
Format รูปแบบไฟล์ของวีดีโอที่จะจับภาพและบันทึกในคอมพิวเตอร์
Split by scene บันทึกไฟล์วีดีโอที่จับภาพแยกไฟล์กัน แยกตามการกดปุ่มบันทึกและหยุดบันทึก หากไม่กำหนด โปรแกรมจะบันทึกไฟล์วีดีโอเป็นไฟล์เดียว (คุณลักษณะนี้ใช้ได้เฉพาะการจับภาพจากกล้องวีดีโอดิจิตอลเท่านั้น)
Capture folder โฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์วีดีโอ
Options แสดงเมนูให้คุณได้ปรับแต่งค่าการจับภาพ
Capture Video จับภาพจากกล้องวีดีโอบันทึกลงในฮาร์ดดิสก์
bullet Capture Image จับภาพเฟรมของวีดีโอที่แสดง เป็นภาพนิ่ง
bullet Disable Audio Preview ปิดเสียงขณะที่ทำการจับภาพ โดยไม่มีผลการเสียงในวีดีโอที่จับ

ในการจับภาพวีดีโอนี้ คุณอาจจะทำการตั้งเวลาในการจับภาพได้ เช่น ต้องการจับภาพเพียง 20 นาทีเท่านั้น ให้ป้อนเลขระยะเวลาของการจับภาพในช่อง Duration เมื่อถึงเวลาที่กำหนดโปรแกรมจะหยุดจับภาพเองโดยอัตโนมัติ  ช่อง Source เมื่อคุณต่อสายเคเบิ้ลและเปิดกล้องวีดีโอ ชื่อกล้องวีดีโอก็จะปรากฏในช่องนี้ หรือหากติดตั้งการ์ดจับภาพอยู่ ก็จะปรากฏรายชื่อในชอง Source นี้เหมือนกัน
ช่อง Format เลือกรูปแบบไฟล์วีดีโอที่คุณต้องการบันทึก หากต้องการจับภาพบันทึกเป็นไฟล์ .avi ให้เลือกรายการ DV หากต้องการบันทึกเป็นไฟล์ MPEG-1 เมื่อจับภาพเสร็จก็สามารถนำไปเขียนเป็น VCD ได้ ให้เลือก VCD

ส่วนของ Information จะแสดงข้อมูลต่างๆ เกี่ยวับกการจับภาพ ไฟล์ที่จะบันทึกต่อไปเป็นไฟล์ชื่ออะไร ความละเอียด ชนิดอะไร ระบบไหน เป็นต้น 
ในตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นการตั้งค่าการจับภาพเป็นแบบ DV และเลือกให้มีการแยกไฟล์ตาม scene โดยการทำเครื่องหมายถูกหน้า Split by scene การจับภาพแบบแยก scene นี้ ช่วยให้คุณสามารถที่จะจัดลำดับของคลิปวีดีโอเรียงตามเหตุการณ์ หรือลบทิ้งคลิปที่ไม่ต้องการได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งใส่เอ็ฟเฟ็กต์ทรานสิชั่นในระหว่างคลิปได้อย่างง่ายโดยที่ไม่ต้องมา แยก scene ใหม่
จากข้อมูลใน Information จะสังเกตุเห็นว่า DV type จะเป็น Type-1 อยู่ แต่ต้องการจะเปลี่ยนเป็น Type-2 ให้คลิก Options แล้วเลือก Capture Options เพื่อตั้งค่าตัวเลือกในการจับภาพ

ทำเครื่องหมายถูกหน้า Capture to Library (เป็นค่าเริ่มต้นของโปรแกรม) การเลือกตัวเลือกนี้ เป็นการจับภาพแล้วให้นำภาพขนาดเล็ก (thumbnail) ของวีดีโอที่จับ เก็บไว้ในไลบรารี่ด้วย ประโยชน์ของการที่เก็บภาพไว้ในไลบรารี่ก็คือ ทำให้คุณทราบว่าได้มีการจับภาพวีดีโออะไรมาบ้าง และหากคุณต้องการนำคลิปวีดีโอนั้นมาตัดต่อ ก็เพียงแต่คลิกลากไฟล์วีดีโอที่อยู่ในไลบรารี่มาใส่ใน Timeline เท่านั้น

คลิก Options แล้วเลือก DV Type… คลิกเลือก DV type-s คลิกปุ่ม OK

หลังจากที่เลือกชนิดวีดีโอเป็น type-2 แล้วข้อมูลในส่วน Information ก็จะเปลี่ยนตาม 
เมื่อตั้งค่าต่างๆ เสร็จแล้ว คลิกที่รูปกล้องหน้า Capture Video เพื่อเริ่มขั้นตอนจับภาพจากกล้องบันทึกเป็นไฟล์ลงคอมพิวเตอร์ 
ภาพหน้าจอขณะที่โปรแกรมกำลังจับภาพ 
ขณะที่กำลังจับภาพอยู่นั้น หากต้องการปิดเสียงวีดีโอที่กำลังจับภาพอยู่ ให้คลิกที่ Disable Audio Preview การปิดเสียงนี้ไม่มีผลต่อเสียงที่บันทึกลงไฟล์วีดีโอ เมื่อต้องการหยุดการจับภาพ ให้คลิกรูปกล้องหน้า Stop Capture  หากมีการตั้งเวลาจับภาพ (กำหนดระยะเวลาจับภาพในช่อง Duration) เมื่อถึงระยะเวลาที่กำหนด โปรแกรมจะหยุดจับภาพโดยอัตโนมัติ

หลังจากที่หยุดจับภาพแล้ว ให้บันทึกโครงการนี้ไว้ เพื่อเปิดตัดต่อในภายหลัง โดยไม่ต้องเลือกไฟล์เพิ่มใน Timeline เพื่อตัดต่ออีก  เลือกเมนู File -> Save แล้วตั้งชื่อไฟล์โครงการ

ชื่อไฟล์โครงการที่ได้ตั้งไว้  การบันทึกโครงการนี้ หากคุณจับภาพเสร็จและปิดโปรแกรม ก็จะปรากฏกรอบโต้ตอบถามถึงการบันทึกโครงการเช่นกัน
หมายเหตุ : การจับภาพแบบ DV Type-1 หรือ DV Type-2 (จากกล้องวีดีโอดิจิตอล) หรือจับภาพแบบ MPEG (จากกล้องดิจิตอลหรือจากอุปกรณ์อนาล็อก) จะมีข้อจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ที่ 4 GB ใน Windows 98 SE และ Me ที่ใช้ระบบไฟล์เป็น FAT 32 ขณะที่จับภาพ เมื่อขนาดไฟล์มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB โปรแกรมจะสร้างไฟล์ใหม่ให้โดยอัตโนมัติ ส่วนใน Windows 2000 และ Windows XP ที่ใช้ระบบไฟล์เป็น NTFS ไม่มีขีดจำกัดเรื่องขนาดไฟล์ในการจับภาพ
การจับภาพแบบแบ่งไฟล์เมื่อมีขนาดเกินนี้ จะใช้ไม่ได้กับการจับภาพแบบ VFW (Video For Windows) และโปรแกรม Ulead VideoStudio นี้จะตรวจสอบระบบไฟล์และทำการจับภาพแบบแบ่งไฟล์เมื่อมีขนาดใหญ่เกินข้อจำกัด โดยอัตโนมัติ และจะทำได้เฉพาะในไฟล์ระบบที่เป็น FAT 32 เท่านั้น

Library
ไลบรารี่เป็นที่ที่เก็บทุกๆ อย่างที่คุณต้องการนำไปสร้างวีดีโอของคุณ ไม่ว่าจะเป็น คลิปวีดีโอ ตัวกรองวีดีโอ เสียง ภาพนิ่ง เอ็ฟเฟ็กต์ทรานสิชั่น ดนตรีประกอบ ตัวหนังสือและคลิปสี สิ่งเหล่านี้รวมๆ กันแล้วเรียกว่า มีเดียคลิป (media clip)

ไลบรารี่จะอยู่ด้านขวามือของหน้าต่าง VideoStudio Editor การเก็บคลิปต่างๆ ไว้ในไลบรารี่ ทำให้สะดวกเมื่อต้องการนำคลิปมาใช้ในการตัดต่อวีดีโอ
การเพิ่มคลิปเข้าในไลบรารี่
เป็นการเพิ่มมีเดียคลิปต่างๆ จะต้องเลือกกลุ่มของไลบรารี่ ว่าจะเพิ่มอะไรเข้าไป  จากนั้นคลิกที่รูปโฟลเดอร์ เลือก
คลิปวีดีโอที่ต้องการเพิ่มเข้าไปในไลบรารี่ แล้วกดปุ่ม Open คลิปวีดีโอที่เลือกก็จะปรากฏอยู่ในไลบรารี่

กรณีที่ทำการตัดต่อวีดีโออยู่ใน Storyboard ก็สามารถลากคลิปที่ตัดต่อแล้ว มาวางไว้ในไลบรารี่ได้ เพื่อใช้ในโอกาสถัดไป ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ลบไฟล์ต้นฉบับออก เช่น มีคลิปวีดีโอขนาด 90 นาที ตัดออกเป็นสองส่วน 60 นาทีกับ 30 นาที เพื่อนำไปเขียนลง CD หลังจากตัดเสร็จแล้ว ให้ลากส่วนที่ 2 เก็บไว้ในไลบรารี่ ลบส่วนที่ 2 ออก เขียนส่วนที่ 1 เสร็จแล้ว สร้างโครงการใหม่ ลากไฟล์ส่วนที่ 2 ที่เก็บไว้ในไลบรารี่มาใส่ใน Storyboard แล้วนำไปเขียนลง CD ก็จะทำให้ส่วนทั้ง 2 มีความต่อเนื่องกัน

การคลิกขวาบนคลิปต่างๆ ในไลบรารี่ก็จะมีตัวเลือกอื่นๆ อีกหลายอย่าง เช่น การคลิกขวาบนคลิปวีดีโอ ก็จะมีเมนูให้เลือกว่าจะแทรกเข้าไปใน Video Track หรือ Overlay Track หรือการดูคุณสมบัติของคลิกนั้น ๆ เป็นต้น
การลบคลิปจากไลบรารี่

คลิกขวาบนคลิปที่ไม่ต้องการแล้วเลือก Delete หรือ คลิกบนคลิปแล้วกดปุ่ม Delete บนแป้นพิมพ์

เมื่อปรากฏตอบโต้ตอบ ให้คลิกปุ่ม OK เพื่อทำการลบออกจากไลบรารี่
การเรียงลำดับคลิป

การเรียงลำดับคลิปในไลบรารี่ ให้คลิกเมนู Options แล้วเลือกการเรียงลำดับตามต้องการ การสลับการเรียงลำดับไปมาระหว่างจากน้อยไปหามาก หรือจากมากไปหาน้อยนั้น ให้ทำการเลือกการเรียงซ้ำ คือเมื่อเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก เมื่อเลือกซ้ำอีกครั้งจะเป็นการเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
ปกติแล้วคลิปวีดีโอจะเรียงตามวันที่ขึ้นอยู่กับฟอร์แมตของไฟล์ ไฟล์ .avi ที่จับภาพมาจากกล้องวีดีโอจะเรียงตามวันที่และเวลาของการบันทึกเทป ส่วนฟอร์แมตไฟล์วีดีโออื่นๆ จะเรียงตามลำดับของวันที่ของไฟล์

ที่มา บริการซ่อมคอมพิวเตอร์.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น